Monday, May 4, 2009

9 - WHO, หนังสือพิมพ์, โทรทัศน์ และราชบัณฑิตยสถาน

หลังอาหาร ใครคนหนึ่งอาจเอ่ยว่า
"ไอแอมฟูล..ล์"
"คอฟฟี่ทามม์ without ซูการ์"
การสื่อสารนี้ อาจทำให้ชาวต่างชาติเข้าใจว่า
ใครคนนั้นพูดว่า ฉันโง่ และได้เวลากาแฟ ที่ไม่มีคนชื่อ ซูกา!!

หลังจากสอบถามจึงค่อยเข้าใจ (และแอบเบื่อคุยกับชายคนนั้น)

ความผิดพลาดนี้ ผู้พูดอาจรู้อยู่แล้ว แต่ยังคงเผลอ เพราะความคุ้นเคย
ในการออกเสียงนั้น นั่นเอง

ปัจจุบัน คนไทยกำลังสร้างความไม่เหมาะทางภาษาอีก โดยมีสื่อเป็นแรงผลักอย่างแรง
เกี่ยวกับคำว่า WHO.

ช่วง สาม-สี่ปีนี้ ภาษาพูด/เขียนข้างล่าง อาจสร้างปัญหาได้:
  • ผมว่าฮุนี่ดี
  • ผมชอบฮุ
  • I want to work for who.
  • ไอ วอนท์ ทู เวิรค์ ฟอร์ ฮู
  • ฮูประกาศว่า .......
  • Who announces that ....


องค์กรอนามัยโลก มีชื่อสากลคือ World Health Organization (WHO) โดยสากลแล้ว การออกเสียงเรียกองค์กรนี้คือ องค์กรนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า "ดับบลิว เอช โอ" แต่สื่อไทยบางราย ทั้งหนังสือพิมพ์ และโทรทัศน์ออกเสียง หรือเขียนว่า "ฮู" ซึ่งหากเผลอตัว ใช้เสียงผิด คำผิดนี้แล้ว อาจทำให้การสื่อสารสับสนได้ เช่น เมื่อคนไทยใช้คำไม่เหมาะนี้ในการสนทนา กับชาวต่างชาติ หรือชาวต่างชาติที่เข้าใจภาษาพูดไทย ก็อาจสื่อสารกันผิดพลาดได้ เสียเวลาสอบถามกัน และอาจเสียอารมณ์เหมือนกับ การที่คนไทยออกเสียงภาษาสากลได้ไม่ดี. ชาวสิงค์โปร์และมาเลเซียยังเคยถูกรัฐบาลของพวกเขา ขอร้อง และแนะนำให้ออกเสียงภาษาอังกฤษให้ถูก เพราะเป็นปัญหา. นี่เราชาวไทย หากไม่มีองค์กรดูแล ก็คงเป็นปัญหา ให้ถูกแอบหัวเราะในใจได้.

สื่อควรเลิกใช้คำว่า ฮู เพื่อหมายถึง WHO แต่หมายถึง who ได้.

ราชบัณฑิตยสถาน ควรต้องเป็นผู้นำหลักในแก้ไข เพราะเป็น ภาษาที่คนไทยใช้ แม้ไม่ใช่ภาษาไทย.

No comments:

Post a Comment